พระไตรปิฎกออนไลน
Advertisement

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

เจริญอานาปานสติุอย่างไร[]

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี

นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า

เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

  1. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
  2. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
  3. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
  4. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
  5. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
  6. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
  7. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
  8. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
  9. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
  10. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
    ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
  11. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
  12. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
  13. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
  14. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
  15. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
  16. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

เจริญอานาปานสติ บำเพ็ญสติปัฏฐาน๔ ให้บริบูรณ์[]

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

  • เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ เป็นกายชนิดหนึ่ง ในพวกกาย
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่


  • สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตสังขาร หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่
การใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ เป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่


  • สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
    ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
(พระพุทธองค์)ไม่กล่าว อานาปานสติ แก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่


  • สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลสหายใจเข้า
  • สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ดูเพิ่ม[]

อ้างอิง[]

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและครบถ้วน กรุณาอ่านเพิ่มเติมที่

Advertisement